วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

๑. การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ความคิดดังกล่าวก็มิได้บรรลุผลวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) คณะบุคคลได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ “การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ” โดยคณะบุคคลที่ได้รับการศึกษามาจากประเทศตะวันตก เรียกคณะบุคคลดังกล่าวว่า“คณะราษฎร” บุคคลในคณะราษฎรประกอบด้วยฝ่ายทหารบก ทหารเรือ และฝ่ายพลเรือน โดยมีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้นำฝ่ายทหาร และนายปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนคณะราษฎรให้เหตุผลที่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า “ต้องการให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่แต่เดิมนั้นล้าสมัยแล้วจึงต้องเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ เพื่อให้ระบอบการปกครองของประเทศไทยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ” คณะราษฎรได้มีการประกาศโครงการทำนุบำรุงสร้างประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าที่เรียกว่า “หลัก ๖ ประการของคณะราษฎร” ซึ่งมีดังนี้ ๑. หลักเอกราช ได้แก่ การรักษาความเป็นเอกราชของชาติ ศาล และเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง ๒. หลักความสงบ ได้แก่ การรักษาความปลอดภัยในประเทศ ๓. หลักเศรษฐกิจ ได้แก่ การบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎร ๔. หลักความเสมอภาค ได้แก่ การให้ราษฎรได้รับสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน ๕. หลักเสรีภาพ ได้แก่ การให้ราษฎรได้รับเสรีภาพ มีความเป็นอิสระตามกฎหมาย ๖. หลักการศึกษา ได้แก่ การให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพื่อเป็นกำลังของประเทศชาติต่อไป จากหลัก ๖ ประการนี้ คณะราษฎรได้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕” ขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู ่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และมีพิธีเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีต่อมารัฐสภาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้ปกครองประเทศแทนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ นำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕” อย่างไรก็ตามแม้จะเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วแต่ยังคงมีกลุ่มบุคคลที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล จึงทำให้มีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองโดยคณะนายทหารอีกหลายครั้ง เช่น กบฏบวรเดชใน พ.ศ.๒๔๗๖ ที่มุ่งหวังยึดอำนาจการปกครองจากพระยาพหลพลพยุหเสนาแต่ไม่สำเร็จ กบฏแมนฮัตตัน ใน พ.ศ. ๒๔๙๔นำโดยกลุ่มนายทหารเรือ มุ่งหวังจะยึดอำนาจจอมพลป. พิบูลสงครามแต่ไม่สำเร็จและ พ.ศ.๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้นการปฏิวัติใน พ.ศ. ๒๕๐๑จอมพล สฤษด ิ์ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติตัวเอง โดยมีจอมพลถนอมกิตติขจร ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้นให้ความร่วมมือเมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ.๒๕๐๖ จอมพล ถนอมได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นเครื่องมือบริหารประเทศ ซึ่งให้สิทธิเสรีภาพกับรัฐบาลมาก แต่เมื่อต้องเผชิญกับการคัดค้านของฝ่ายรัฐบาลเอง ทำให้จอมพล ถนอมปฏิวัติตัวเองอีกครั้งในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔และประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕” ตามรูปแบบเผด็จการอำนาจนิยมเช่นเดียวกับสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ส่งผลให้ประชาชน นิสิตนักศึกษาที่ต้องการการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่พอใจและรวมตัวเรียกร้องให้จอมพล ถนอม กิตติขจร และคณะนายทหารประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงโดยเร็ว แต่เมื่อความต้องการดังกล่าวไม่ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาล จึงทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงจากประชาชนและนิสิตนักศึกษา ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกกันต่อมาว่า “เหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖)” ๒. เหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เกิดขึ้นภายหลังจากรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจรได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจของตนเอง (พ.ศ. ๒๕๑๔) ยกเลิกรัฐธรรมนูญ หันไปใช้อำนาจเผด็จการปกครอง ทำให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล นิสิตนักศึกษาต่างเห็นว่าการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองควรที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้มีการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาและนักกฎหมายจำนวน ๑๓ คน ประกาศเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งหมดถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ จึงเกิดการรวมตัวของนิสิตนักศึกษาเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลทั้ ง๑๓ คนการชุมนุมขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง รัฐบาลใช้กำลังปราบปรามด้วยวิธีที่รุนแรง ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต เกิดการนองเลือดตามมา ซึ่งในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ผู้นำขบวนและนิสิตนักศึกษาบางส่วน ต้องไปพึ่งพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเข้าไปหลบภัยอยู่ในบริเวณพระราชวังสวนจิตรลดา โดยเหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) สิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศหลังจากเหตุการณ์สิ้นสุดลง พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและมีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ผ่านการเลือกตั้งระบบพรรคการเมือง มีการควบคุม ตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ไม่ถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเช่นที่ผ่านมาผลจากเหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวทางการเมือง และสำนึกทางการเมืองสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีการจัดตั้งกลุ่มร่วมรณรงค์เรียกร้องสิทธิของตนอย่างกว้างขวาง มีการรวมตัวเพื่อต่อรองผลประโยชน์ เช่น มีการจัดตั้งสหพันธ์นักศึกษาเสรีแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางนักศึกษาอาชีวะแห่งประเทศไทย สหพันธ์กรรมกร เป็นต้น แม้ภายหลังเหตุการณ์มหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) บรรยากาศทางการเมืองการปกครองของไทยจะคลี่คลายมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องมีการแก้ปัญหาในอีกหลายด้าน เพื่อให้เกิดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างสมบูรณ์ ๓. เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ผลสืบเนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๑๗ ที่กลุ่มนักศึกษา ประชาชน และกลุ่มชาวนาชาวไร่ เกิดความสำนึกและตื่นตัวทางการเมือง สังคมไทยมีบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยสูง มีการแข่งขันทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองที่มีมากถึง ๒๒ พรรค โดยแต่ละพรรคอยู่ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มทุนที่เจริญก้าวหน้าขึ้นมาจากยุคส่งเสริมการลงทุน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ ๑รวมทั้งการเมืองไทยในระบบรัฐสภาก็มีการแข่งขันช่วงชิงอำนาจกันเป็นเวลากว่า ๓ ปี จนกระทั่งจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำประเทศ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทย จึงเป็นสาเหตุให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อต้านการกลับมาของจอมพล ถนอม กิตติขจรและเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้งด้วยการรวมตัวกันชุมนุมประท้วงการกลับมาของผู้นำคนดังกล่าว เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนั้นเกิดการแบ่งแยกประชาชนเป็นฝ่ายขวา-ฝ่ายซ้ายระหว่างกลุ่มลูกเสือชาวบ้านและขบวนการนิสิตนักศึกษาที่ถูกโจมตีว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เรียกร้องให้รัฐบาลเนรเทศจอมพล ถนอม กิตติขจร ออกนอกประเทศ กับฝ่ายทหารและตำรวจ นำไปสู่การสลายการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบริเวณท้องสนามหลวงในตอนเช้าของวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทำให้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตจำนวนมากนิสิตนักศึกษาและผู้นำกรรมกรจำนวนมาก หลบหนีการปราบปรามเข้าป่า เพื่อรวมตัวกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การทำรัฐประหารในนามของ“คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” มีพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะ โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ดำ เนินการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙ มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งทางความคิดทำให้นิสิตนักศึกษาส่วนหนึ่งหลบหนีออกนอกประเทศ เพราะเกรงจะไม่ได้รับความปลอดภัยต่อมาในวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง โดยอ้างความแตกแยกในหมู่ข้าราชการกับประชาชน และได้แต่งตั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐”และต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑” ซึ่งอนุญาตให้ข้าราชการประจำระดับสูง ทั้งทหารและพลเรือนสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ หลังจากนั้นสถานการณ์ต่างๆ ได้เริ่มคลี่คลาย เมื่อรัฐบาลได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่หลบหนีเข้าป่าได้เริ่มทยอยกลับออกมา และรัฐบาลได้มีนโยบายในการปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ที่กระจายอยู่ทั่วไปตามต่างจังหวัดโดยการประกาศคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๖๖/๒๕๒๓ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ โดยใช้ “หลักการเมืองนำการทหาร” คือ การสร้างความชอบธรรมแก่ทหารในการขยายบทบาทในกิจการด้านพลเรือนและการเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง นโยบายดังกล่าวประกาศใช้ในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและหลังจากที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ประกาศวางมือทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน และบริหารประเทศโดยมุ่งเน้นการสร้างความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ มีนโยบายสำคัญคือ การเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ๔. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศได้ระยะหนึ่งได้ถูกคณะนายทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” (รสช.) มีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นหัวหน้าคณะทำการรัฐประหารยึดอำนาจในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔ พร้อมทั้งประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔” และได้กำหนดระยะเวลาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้ พร้อมกับแต่งตั้งคนกลาง คือ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และปิดช่องทางการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐให้แคบลงต่อมาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้มีประกาศให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ ซึ่งได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้คณะ รสช. สืบทอดอำนาจต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ในสัดสวนของพรรคการเมือง สงผลใหมีการสืบทอดอํานาจของคณะ รสช. โดยมอบหมายให้พลเอก สุจินดา คราประยูร หนึ่งในผู้นําคณะ รสช. ขึ้นดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งที่แต่เดิมได้เคยประกาศไว้ว่าจะไม่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเหตุนี้ บรรดานิสิต นักศึกษา และ ประชาชนได้รวมตัวกันที่บริเวณถนนราชดําเนิน เพื่อประท่วงรัฐบาล ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ เหตุการณ์ได้ยืดเยื้อมาจนถึงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐบาลจึงได้ใช่กําลังเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ดังกล่าวแล้ว การเลือกตั้งทั่วไปก็เกิดขึ้นในวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองในระบบรัฐสภาก็ได้เกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลงนั่นเอง โดยเกิดปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว ทําให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเป็นจํานวนมาก จึงได้มีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “พฤษภาทมิฬ” ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ยุติลงเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทําให้เหตุการณ์สงบลง และพลเอก สุจินดา คราประยูร ไดขอลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรีเหตุการณดังกลาว เปนการสะทอนใหเห็นวา ประชาชนตองการใหประเทศไทยปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยอยางแทจริง โดยใหรัฐสภาเปนเวทีของการแสดงความคิดเห็น และเปนตัวแทนของประชาชนผานการเลือกตั้งของประชาชน มิใชปลอยใหคณะบุคคลยึดอํานาจการปกครองไปเปนของตนเองในชวงเวลาเดียวกัน สังคมโลกเปลี่ยนแปลงเขาสูยุคโลกาภิวัตน แนวคิดทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยแพรขยายไปทั่วโลก จึงมีสวนผลักดันทางความคิดของคนในสังคมไทยใหมีการปฏิรูปการเมืองการปกครอง เพื่อความเปนประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น บรรดาชนชั้นนําทางการเมืองและนักวิชาการจึงไดรวมกันแกไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช๒๕๓๔ ใหมีบทบัญญัติเพื่อเปนแนวทางสูการปฏิรูปการเมืองไทยใหเขากับยุคสมัยของสังคมโลกในเวลานั้น ดวยการจัดตั้งสมาชิกสภารางรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีสวนรวมในการยกรางรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเปนครั้งแรก และเกิดผลสัมฤทธิ์ในเวลาตอมา คือ “รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จัดทำขึ้นมาจากความคิดของประชาชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองด้วยการรวบรวมแนวคิดความเป็นประชาธิปไตยจากประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วมากำหนดเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติส่งผลให้สังคมไทยได้รับการพัฒนาทางการเมืองการปกครองที่สำคัญ ๓ ประการ ดังนี้ ๑. ทำให้การเมืองเป็นของพลเมือง ด้วยการเพิ่มพูนสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติรวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองมากยิ่งขึ้น ๒. ทำให้ระบบการเมืองและระบบราชการของประเทศมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริตและมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ ด้วยวิธีการตรวจสอบ การควบคุมการใช้อำนาจทุกระดับและครอบคลุมทุกด้านอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดตั้งศาลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญศาลปกครองและได้จัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่นคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นต้น ๓. ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ พรรคการเมืองเข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองอย่างแท้จริง รัฐสภามีอำนาจในทางนิติบัญญัติควบคุมฝ่ายบริหารให้บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา ๕. เหตุการณยึดอํานาจการปกครอง ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เหตุการณยึดอํานาจการปกครองในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เปนเหตุการณที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผูบัญชาการทหารบกในขณะนั้น เปนหัวหนาทําการยึดอํานาจการปกครองจากคณะรัฐบาล พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร โดย อางสาเหตุในการปฏิรูปการปกครองครั้งนี้วา ๑. รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีไดกอใหเกิดปญหาความขัดแยง แบงฝาย ทําลายความสามัคคีของคนในชาติอยางไมเคยปรากฏมากอนในประวัติศาสตร และมุงเอาชนะกันดวยวิธีการหลากหลายรูปแบบและมีแนว โนมจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ๒. บริหารราชการสอไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชนตอพวกพองอยางกวางขวาง ๓. มีพฤติกรรมแทรกแซงการทํางานและอํานาจขององคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญจนไมสามารถปฏิบัติหนาที่เพื่อแกไขปญหาของชาติได ๔. การดําเนินกิจกรรมทางการเมืองบางโอกาสมีลักษณะหมิ่นเหมตอการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแหงองคพระมหากษัตริย ผลจากการยึดอํานาจการปกครองครั้งนี้ไดมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และประกาศใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยใหสภารางรัฐธรรมนูญทําการยกรางรัฐธรรมนูญขึ้นใหม แลวเผยแพรรางรัฐธรรมนูญใหประชาชนทราบ และจัดใหมีการออกเสียงประชามติผลปรากฏวาประชาชนสวนใหญเห็นชอบ และไดประกาศใชเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ แตหลังจากประกาศใชรัฐธรรมนูญฉบับนี้แลว ปญหาทางการเมืองของไทยก็ยังไมยุติ ประชาชนบางสวนและนักการเมืองยังมีความคิดเห็นที่ไมตรงกันตอบทบัญญัติบางมาตราในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกตางกัน นักการเมืองแบงเปนฝาย นําไปสูเหตุการณวุนวายทางการเมืองมีการชุมนุมประทวง การเรียก รองใหมีการแกไขรัฐธรรมนูญ เปนตน ๖. สถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า การเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต โดยในปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัว มีจิตสำนึกทางการเมือง และมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นมีการเผยแพร่ข่าวสารการเมืองอย่างกว้างขวางโดยสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต ทำให้ประชาชนสนใจและเข้าใจการเมืองมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ระบอบการเมืองและกลไกทางการเมืองที่ผ่านมา ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้ว่า ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมแหง่ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ สถานการณ์ทางการเมืองของไทยยังคงมีความผันผวน และเกิดความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองนำไปสู่ความขัดแย้งกัน ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะทหารที่ใช้ชื่อว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งนำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลในขณะนั้น ภายหลังจากการยึดอำนาจได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งต่อมาในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๙ ของประเทศไทยสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด มีดังนี้ ๑. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน เห็นได้จากการมีส่วนร่วมของประชาชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่มีการทำประชามติเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ๒. การเมืองไทยยังมีการทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการบางกลุ่ม เพราะระเบียบ กฎเกณฑ์กฎหมาย ยังมีช่องว่างที่จะนำไปสู่ช่องทางของการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้ ตัวอย่างนโยบายที่เอื้อให้เกิดการทุจริต เช่น นโยบายรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร นโยบายปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น ๓. การแข่งขันเข้าสู่การเมือง นักการเมืองบางคนต้องการอำนาจ เงินทอง และการยกย่องจากผู้อื่น จึงมีการแข่งขันกันเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง เพื่อการได้มาซึ่งตำแหน่งในหลายครั้งเกิดการแข่งขันนอกกฎเกณฑ์ เช่น การทำผิดกฎหมายเลือกตั้งด้วยวิธีการซื้อเสียงเป็นต้น รวมทั้งพรรคการเมืองยังไม่เข้มแข็งพอที่จะถือได้ว่าเป็นพรรคของมวลชนที่แท้จริง ๔. การมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ของภาคพลเมืองยังมีน้อย เพราะประชาชนยังกังวลกับปัญหาปากท้องมากกว่า โดยเฉพาะคนในชนบทส่วนใหญ่ที่ยังประสบปัญหาการขาดแคลนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ๕. ความผันผวนทางการเมือง ทำให้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยครั้งรัฐบาลแต่ละชุดอยู่ไม่นาน ทำให้การเมืองไทยไม่พัฒนาเท่าที่ควรขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาส่งผลให้สถานภาพทางการเมืองของไทยไม่มั่นคงเท่าที่ควร ๖. ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองต่างๆและกลุ่มบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองของไทยเช่นความแตกต่างทางความคิดทางการเมือง ระหว่างกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) จนนำไปสู่เหตุการณ์ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ส่งผลให้ในที่สุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง และจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗